เครือข่ายกะเหรี่ยงต้นทะเล



หลายๆบทความได้พูดเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวมาเยอะแล้ว บทความนี้จะนำเอาเรื่องประทับใจของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง 
ปาเกอญอ อ.อุ้มผาง จ. ตากที่ได้ดูมาจากรายการ คนค้นฅน 
นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเครือข่ายกะเหรี่ยงต้นทะเล
  หรือเครือข่ายกะเหรี่ยงต้นทะเล
 ที่ชาวบ้านให้ความนับถือ อาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก รวมกลุ่มจากสหายกลุ่มเล็กๆ ที่มีแนวคิดว่าตนเองเป็นคนต้นน้ำ ยึดมั่นในวิถีวัฒนธรรมของตนเอง และคำสอนครั้งปู่ย่าตายาย ในการที่จะรักษาผืนป่าที่เป็นต้นน้ำ เพื่อรักษาต้นน้ำลำธารที่เปรียบเสมือนชีวิ­ตของผู้คนทั้งคนต้นน้ำ คนกลางน้ำ และคนปลายน้ำให้คงอยู่ไว้ให้ได้


วันนี้จึงจะนำเอาวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงมาให้ได้ดูกันค่ะ ว่าเค้ามีวิถีชีวิตกันแบบใหน และทำไมเค้าถึงรักธรรมชาติกันได้มากขนาดนี้
วิถึชีวิต กะเหรี่ยง “ ปากะญอ 

ความหมาย
     ปงา-เกอ-หญอ (หญอ เสียงนาสิก ไมใช ญอ) แปลวา คน สวนคําวา กระเหรี่ยง ที่ชาวไทยนิยมเรียกชาติพันธุนี้นั้น เปนคําที่ ปงา-เกอ-หญอ ไมรูวาแปลวาอะไร และไมมีในภาษากระเหรี่ยง วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงไดชื่อวาเปนชาวเขา แตก็ไมไดอาศัยอยูบนที่สูงเสียทั้งหมด บางสวนก็ตั้งบานเรือนบนที่ราบเชนเดียวกับชาวพื้นราบ ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเปนหลักแหลงถาวร ไมนิยมยายถิ่นบอยๆ และมีภูมิปญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหลงน้ําเปนอยางดี ชาวกะเหรี่ยงสวนใหญจะตั้งถิ่นฐานใกลแหลงน้ําหรือตนน้ําลําธาร กะเหรี่ยง หรือ ปกากะญอ” ขึ้นชื่อวาเปนชนเผาที่รักความสันโดษ อยูอยางเงียบ ๆ ชอบใชชีวิตอยูกับปาไมลําเนาไพร สวนใหญจะประกอบอาชีพทําไร ทํานา อยูตามปาตามเขา ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล สวนสัตวเลี้ยงก็จะเลี้ยงไวเพื่อเปนอาหารมากกวาการคาขาย ใชชีวิตแบบพึ่งปาพึ่งน้ําอาศัยอยูรวมกันเปนกลุมใหญ หากไมมีที่ทํากินจะไปรับจางทํางานกับพอคาคนไทย เพื่อแลกเงิน หรือ อาหาร

       บานเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสรางเปนบานยกพื้น มีชานบาน หรือไมก็ใชเสาสูง นิยมใชไมไผ มาทำฝาบาน โดยตีใหแบน และมุงดวยหญาแฝกหรือหญาคาถึงแมวาจะอยูบนที่สูงก็ตาม
      อาชีพการเกษตรเปนอาชีพที่ชนเผากะเหรี่ยงจะยึดเปนอาชีพหลัก เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่เคยปลูกไวกินไวใช แตภายหลังเริ่มมีการปลูกในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อสงออกในตลาด และนอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางดานเทคโนโลยีทางการเกษตร อยางเห็นไดอยางชัดวา สมัยกอนจะใชควายในการไถนาเปนหลัก

      การทํามาหากินของชาวกะเหรี่ยงตามประเพณีจะมีการลงแขก เมื่อถึงเวลาหวานขาวก็จะไปชวยกันใหเสร็จทีละครอบครัว การลงมือหวานขาวเจา ของไรจะเตรียมพื้นที่สําหรับการปลูกแมขาว โดยชายหนุมจะปกหลุมและหญิงสาวจะหยอดขาว ชายหนุมผูซึ่งปกหลุมจะไมสามารถหยอดขาวไดเลย ในตลอดวันนั้น และหญิงสาวผูซึ่งหยอดขาวจะไมสามารถปกหลุมได เมื่อเสร็จแลวหากยังมีเชื้อขาวเหลืออยูในมือของผูหยอดขาว เจาของไรจะบอกกับพวกเขา ใหเก็บรวมกันไวในกระชุ หญิงสาวผูหยอดขาวแรกจะหยิบมาหนอยหนึ่ง แลวหยอดเปนหลุมสุดทาย จากนั้นก็จะแยกยายกันกลับบาน
      การแตงกาย ชาย จะใสเสื้อผาทอผืนเดียว ไมนิยมนํามาตัด แตใชวิธีทอผาผืนเดียวเปนชิ้นแลวนํามาตอกันเปนเสื้อ ถาเปนชายโสด ใสเสื้อสีแดง ใสเสื้อขาวแขนยาวดานใน สําหรับกางเกงใสสีอะไรก็ได้หญิงสาว ที่ยังไมแตงงานจะใสชุดสีขาวทั้งชุด สําหรับผูที่แตงงานแลว ใสสีอื่นได กะเหรี่ยงจะนิยมใชผาทอของกะเหรี่ยง ใชผาฝายที่ยอมจากสีธรรมชาติ ทํายาม ทอเสื้อ ทอผาถุง ฯลฯ และตองกําหนดขนาดดวย ลักษณะของเครื่องนุงหมของชนเผากะเหรี่ยง เปนการนําผาแตละชิ้นมาเย็บประกอบกันโดยไมการตัด (ยกเวนความยาว) ดังนั้นผาทอกะเหรี่ยงจึงตองกะใหไดขนาดที่จะนํามาเย็บ แลวสวมไดพอดีตัว กะเหรี่ยงไมมีเครื่องมือที่ใชเปนมาตรฐานในการวัด ตองใชวิธีกะประมาณ โดยอาคัยความเคยชิน การกะขนาดของผาจะยึดรูปรางของคนทอเปนขนาดมาตรฐาน






กลุ่มต้นทะเล
         เครือข่ายกะเหรี่ยงต้นทะเล หรือ กลุ่มต้นทะเล คือกลุ่มผู้อาวุโสของชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่ชาวบ้านให้ความนับถือ อาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก รวมกลุ่มจากสหายกลุ่มเล็กๆ ที่มีแนวคิดว่าตนเองเป็นคนต้นน้ำ ยึดมั่นในวิถีวัฒนธรรมของตนเอง และคำสอนครั้งปู่ย่าตายาย ในการที่จะรักษาผืนป่าที่เป็นต้นน้ำ เพื่อรักษาต้นน้ำลำธารที่เปรียบเสมือนชีวิตของผู้คนทั้งคนต้นน้ำ คนกลางน้ำ และคนปลายน้ำให้คงอยู่ไว้ให้ได้
      “ปู่ย่า ตา ยาย เค้าบอกว่า คล้ายๆ ว่าเราอยู่กับต้นน้ำลำธาร เราอยู่ในป่าในเขา น้ำทุกสายที่เราอาศัยคือต้นน้ำลำธาร คล้ายๆ ว่าน้ำทุกหยดต้องไหลสู่ทะเล เราอยู่ต้นน้ำก็คือเท่ากับ..ต้นทะเล
     “ถึงแม้ว่าความเจริญเข้ามา แต่ให้เราอยู่ได้ ถึงแม้ความเจริญเข้ามา แต่เราไม่ได้หลงวัฒนธรรมของคนอื่น แต่เราจะอยู่กับวัฒนธรรมของเรา ถ้าหากว่าคนที่อยู่ข้างล่าง สมมุติว่าไม่มีป่าแล้ว สักวันหนึ่งน้ำมันจะแห้งเขาจะอยู่ได้ยังไง ต้นน้ำลำธารแห้งหมดแล้ว เหมือนในป่ากับในเมืองเท่ากับมือซ้ายมือขวา ถ้ามีป่ามีน้ำ ป่าไม่มีน้ำมันก็แห้ง อันนี้มันเกี่ยวข้องกัน ถ้าทำแห้งหมดแล้วเนี่ย ถึงคนในเมืองอยู่ไม่ได้ คนในป่าก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน

        กลุ่มคนเล็กๆ ที่อาศัยอยู่บนดอย ใช้ชีวิตอย่างสมถะตามวิถีของตัวเอง ปลูกผัก ปลูกข้าว หาปลา เพื่อการดำรงชีวิต ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีทีวี ไม่มีตู้เย็น ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก แสงสว่างที่มีเป็นเพียงแสงสว่างที่ได้จากเปลวเทียน และแสงจากกองไฟในคืนที่มีงานบุญประเพณีคืนที่ทุกคนมารวมตัวและพูดคุยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันจากรุ่นสู่รุ่น เหล่าผู้เฒ่าได้ถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมอันดีงามให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ ถ่ายทอดเรื่องราวปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ผ่านนิทานเรื่องแล้วเรื่องเล่า ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่โบราณ จวบจนการทำตนให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลาน จนกลายเป็นเครือข่ายที่มีผู้ร่วมอุดมการณ์กว่าสองร้อยชีวิต จากแนวคิดที่ว่า พวกเราคือต้นทะเล” เป็นคนต้นน้ำที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ มีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมดีกว่าคนในเมืองหลายเท่าตัว หากแต่ไม่มีความคิดที่จะครอบครองเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว ตรงกันข้ามกลับมีความคิดที่ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะเก็บรักษาผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์นี้ไว้ให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ให้ผู้คนทั้งหลายได้มีน้ำไว้กินไว้ใช้ และสิ่งหนึ่งที่กลุ่มต้นทะเลยึดถือปฏิบัติมาตลอดคือ ในการทำไร่ ทำนา พวกเค้าจะไม่ใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำที่พวกเค้ารักและหวงแหน
 
     “ชาวกะเหรี่ยงเป็นพี่คนโต ต้องอยู่ในป่าในเขา พี่คนโตคือ ต้องดูแลน้องทุกคน คนอยู่ปลายน้ำกลางน้ำ เป็นมนุษย์เหมือนกัน ช่วยเราได้เหมือนกัน แต่ว่าเราต้องอยู่อาศัยกัน ถ้าเกิดธรรมชาติไม่มีชีวิต เราต้องรักษาเขา แต่ถึงแม้ว่ามนุษย์ต่อมนุษย์ต้องรักษากัน..ฆ่ากันไม่ได้
       หากเปรียบ คนต้นน้ำ คนกลางน้ำ และคนปลายน้ำ” เป็น พี่คนโต พี่คนกลาง และน้องคนเล็ก” ตามคำบอกเล่าของบรรพบุรุษชาวกะเหรี่ยงนั้น ในขณะที่พี่คนโตทุ่มเทสุดหัวใจในการที่จะดูแลรักษาทรัพยากรอันมีคุณค่าให้คงอยู่เพื่อหวังให้น้องทั้งสองอยู่อย่างสุขสบายมีน้ำสะอาดไว้กินไว้ใช้มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์….แต่น้องทั้งสองกับไม่เห็นคุณค่า หลงกับวัตถุวัฒนธรรมจากภายนอกหลงลืมรากเหง้าของตัวเอง และกลับมองความหวังดีของพี่เป็นสิ่งที่ล้าหลังและถ่วงความเจริญของสังคม คอยแต่จะยั่วยุ แย่งชิงในสิ่งที่พี่หวงแหนและนำมาซึ่งความเสื่อมโทรม บัดนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่พี่น้องจะมีความเห็นตรงกันและหันมาร่วมแรงร่วมใจรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป..อย่าปล่อยให้พี่คนโตต้องเดินเพียงลำพัง


ข้อมูลจาก http://www.monmai.com/
รูป http://www.pixpros.net/
.................................................................................................





และนี่ก็เป็นเรื่องราวที่น่าประทับใจ เป็นอีกหนึ่งมุมเล็กๆที่ทำให้รู้กว่าโลกนี้น่าอยู่ มีคนดีๆอยู่ ที่จะช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ 
ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเอง แต่ยังเพื่อคนอื่นๆอีกนับล้าน 
นับว่าเป็นจิตสำนึกที่ดีและน่ายกย่อง ด้วยความใสซื่อบริสุทธิ์ของชาวเขาเผ่านี้ จึงอยากนำเอาเรื่องราวดีๆมาบอกต่อส่งต่อเรื่องดีๆกันค่ะ หวังว่าจะเกิดความประทับใจ และร่วมกันคนละไม้คนละมือเพื่อช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่าไม้ของเรา ก่อนที่จะสายเกินไป

"เครือข่ายของกะเหรี่ยงต้นทะเล จิตสำนึกของคนต้นน้ำ 
เพื่อคนปลายน้ำ"

No comments:

Post a Comment